7.พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย

ความหมายของ “พลเมืองดี” ในวิถีชีวิตประชาธิปไตยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ดังนี้“พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน“วิถี” หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน“ประชาธิปไตย”หมายถึง แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ 1) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของ อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ 2) หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ ได้แก่ มีสิทธิเสรีภาพ มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติ ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า 3) หลักนิติธรรม หมายถึง การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม 4) หลักเหตุผล หมายถึง การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม 5) หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย ครอบครัว ประชาธิปไตย จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างสันติวิธี 6) หลักประนีประนอม หมายถึง การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมได้ ความสอดคล้องของสถานภาพและบทบาทของบุคคลในวิถีชีวิตประชาธิปไตย สถานภาพและบทบาทของบุคคลที่สอดคล้องกัน เช่น 1) พ่อ แม่ ควรมีบทบาทดังนี้
1.1 รับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว
1.2ให้การศึกษาต่อสมาชิกของครอบครัว
1.3จัดสรรงบประมาณของครอบครัวให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของสังคมและโลก
1.4ครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีความรักต่อบุตร
2) ครู – อาจารย์ ควรมีบทบาท ดังนี้
2.1ถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์โดยกระบวนการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน
2.2 ครองตนให้เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
2.3เป็นผู้เสียสละทั้งเวลาและอดทนในการสั่งสอนศิษย์ทั้งด้านความประพฤติและการศึกษา
2.4 ยึดมั่นในระเบียบวินัย ตลอดจนปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู
3) นักเรียน ควรมีบทบาท ดังนี้
3.1 ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบของโรงเรียน
3.2 รับผิดชอบต่อหน้าที่ในการศึกษาหาความรู้
3.3 ให้ความเคารพต่อบุคคลที่อาวุโสโดยมีมารยาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์
3.4 รับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างมีเหตุผล
3.5 ขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
3.6เสริมสร้างความสามัคคีในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น