5.การปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิธีประชาธิปไตย

วัฒนธรรม คือ แบบแผนการกระทำ หรือผลการกระทำที่พัฒนาจากสภาพเดิมตามธรรมชาติให้ดีงามยั่งยืนจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ตัวอย่างแบบแผนการกระทำ เช่น กิริยา มารยาท การพูด การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ส่วนผลจากการกระทำ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

วัฒนธรรมการไหว้ เป็นวัฒนธรรมภายนอกที่มักได้รับการตอบสนองจากผู้ได้รับด้วยการไหว้ตอบนอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมไทยอื่นๆ ที่งดงาม เช่น การกราบ การแต่งกายแบบไทยในโอกาสต่าง ๆ การทำบุญ ตักบาตร ฯลฯ

  การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย
  ขนบธรรมเนียมประเพณี คือ สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดสืบทอดกันมาและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามของแต่ละสังคมอาจเหมือนกัน คล้ายกัน หรือแตกต่างกันก็ได้ และสิ่งที่ดีงามของสังคมหนึ่งเมื่อเวลาผ่าน ไปสังคมนั้นอาจเห็นเป็นสิ่งไม่ดีงามก็ได้
วัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นกิจกรรมที่สืบทอดมายาวนานและสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดีควรอนุรักษ์ไว้

การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก
การที่บุคคลจะเป็นสมาชกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก จะต้องคำนึงถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

ความหมายของสถานภาพบทบาทสิทธิเสรีภาพและหน้าที่

1. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์เป็นต้น
2. บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
3. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4. เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น
5. หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร เป็นต้น 5.หน้าที่ของพลเมืองดีของสังคมตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กล่าวถึงหน้าที่ของชนชาวไทยตามระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องรักษาและปฏิบัติตามจะหลีกเลี่ยงมิได้ พอสรุปได้ดังนี้

การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

  1. การรักษาชาติ บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 66 เมื่อคนไทยมีหน้าที่รักษา ก็ต้องดูแล และป้องกันชาติ มิให้ผู้ใดใช้ข้ออ้างใด ๆ เพื่อแบ่งแยกแผ่นดินไทย ด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครอง หรือศาสนา เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้" ดังนั้น ผู้ใดจะมาชักจูง โน้มน้าวเราด้วยเหตุผลใดๆ ถือว่าเป็นผู้ทำลายประเทศชาติ คนไทยทุกคนมีหน้าที่รักษาชาติให้มีเสถียรภาพ มั่นคงถาวรและเป็นเอกภาพตลอดไป
2. การรักศาสนา เนื่องจากประเทศไทยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาและสามารถประกอบพิธีกรรมตามศาสนาได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ภก คือ ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาในประเทศไทย รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ที่เราทุกคนต้องรักษาไว้ซึ่งศาสนา ซึ่งน่าจะหมายถึงการบำรุงรักษาและเสริมสร้างศรัทธาเพื่อให้ศาสนาคงอยู่คู่บ้านเมืองและเป็นหลักยึดเหนี่ยวในด้านคุณธรรมสืบไป คนไทยทุกคนต้องช่วยกันสอดส่องดูแลทั่งฆราวาสและบรรพชิตให้มีวัตรจริยาอันเหมาะสมต่อศาสนาหรือลัทธิของตนจะอาศัยพระวินัยหรือนักบวชแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้
  3. การรักษาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภารกิจนี้เป็นหน้าที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทุกคน เพราะประเทศไทยดำรงอยู่ได้และคนไทยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขยืนยงมาทุกวันนี้ ด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ปกอยู่เหนือเกล้าฯ ชาวไทยทุกคนเพราะแต่ละพระองค์จะครองราชย์สมบัติ ดูแลบ้านเมืองอยู่ได้นานกว่าประมุขที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งมีความรู้สึกผูกพัน ตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบัน ย่อมจารึกอยู่ในดวงใจของชาวไทยทั้งประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่คนไทยต้องดูแลรักษาและเทิดทูนสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต อีกทั้งต้องป้องกันภัยพาลอันเกิดจากวาจาหรือความคิดที่ไม่สุจริตทั้งปวง การปกครองของไทยจึงเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่แน่วแน่มั่นคงเพราะพระองค์ คือ สัญลักษณ์แห่งคุณธรรมและสันติสุข

การปฏิบัติตามกฎหมาย บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายระดับต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งมีทั้งในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญแต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีการเลือกตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นการเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นสมาชิก สภานิติบัญญัติ หรืออาจเป็นการเลือกผู้แทนไปเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยตรงก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การได้มีโอกาสใช้สิทธิในการเลือกตั้งจึงเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สำคัญคือ การเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนควรภาคภูมิใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของคนไทย บุคคลใดที่ไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น